In บทความ, วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์

การฟังรากฐานแห่งจิตวิทยาประชาธิปไตย

aa

ะยะนี้ความเคลื่อนไหวทางการเมืองเริ่มที่จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากใกล้ที่จะถึงวันตามที่คณะรัฐบาลคสช. ได้ประกาศไว้ว่าจะมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 พรรคการเมืองต่างๆ ต่างก็ออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ พร้อมทั้งชูนโยบายที่พรรคของตนจะช่วยประชาชน แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนมองเห็นว่านักการเมืองแทบทั้งหมดต่างชูประเด็นอยู่ภายใต้กรอบของวิทยาการทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์เป็นประเด็นหลักซึ่งก็ไม่ได้ผิดแต่ประการใด

bb

#แต่หากมองอย่างลึกซึ้ง แม้ว่าวิทยาการสาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์นั้นเป็นวิทยาการแกนหลักในการขับเคลื่อนการปกครองของรัฐต่างๆก็ตาม แต่กระนั้นก็ยังสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในวิทยาการแขนงอื่นๆอีกมากเช่น การศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร การพาณิชย์ เทคโนโลยีและอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก

#การเฝ้าเรียกร้องหาประชาธิปไตยและความเสมอภาคของความเป็นมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่ชอบธรรมด้วยเหตุผล หลายประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทยต่างมีการเลือกตั้งสลับกับการยุบสภาและสลับกับการรัฐประหาร เป็นเช่นนี้นานนับหลายทศวรรษ แทบไม่เคยมีวัฒนธรรมแห่งรัฐที่บ่งชี้วิถีแห่งประชาธิปไตยอย่างยาวนานและแท้จริง

#การคาดหวังจะให้ประเทศใดๆเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนั้น ความเป็นประชาธิปไตยจะต้องเกิดในหัวใจของความเป็นปัจเจกชนทุกคนในประเทศนั้นๆให้มากเสียก่อน จากนั้นจึงจะเกิดประชาธิปไตยในครอบครัว ประชาธิปไตยในสถานศึกษาและสถาบันทางสังคมต่างๆ จนขยายใหญ่ขึ้นในที่ทำงานทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชนจน ในที่สุดจะส่งผลต่อความเป็นประชาธิปไตยแห่งรัฐได้อย่างแท้จริง

#คำว่าจิตวิทยาแห่งประชาธิปไตยนั้น เป็นคำที่นักเคลื่อนไหวและนักปกครอง จำนวนมากอาจไม่คุ้นเคยนัก ชึ่งในความเป็นจริง เรื่องของจิตวิทยานั้นมีหลายสาขา เช่น จิตวิทยาส่วนบุคคล ครอบครัว สังคมและจิตวิทยามวลชน เป็นต้น โดยภาพรวม หากถามว่าจิตวิทยาที่จะนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนั้นคืออะไรคำตอบก็คือ”การมีชุดของวิธีคิดและวิถีปฏิบัติต่างๆที่รู้จักเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกันนั่นเอง”

#วิธีการให้เกียรติชึ่งสำคัญยิ่งที่จะนำไปสู่ความมีประชาธิปไตยนั้นคือการรู้จักรับฟัง เนื่องด้วยการรับฟังเป็นหัวใจสำคัญของการนำไปสู่การปรับเปลี่ยนความคิดอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆ ในวงการจิตเวชศาสตร์การรับฟังเป็นหัวใจหลักของการทำจิตบำบัดทุกชนิด กระนั้นการรับฟังยังหมายความถึงการยอมรับนับถือและให้เกียรติผู้อื่นอีกด้วย ผู้ที่ได้รับการรับฟังจากผู้อื่นนั้นจะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามีเกียรติและเป็นคนสำคัญคนหนึ่งในสังคม

#การรับฟังนั้น ในทางศาสนาปรัชญาเป็นทั้งการแสดงความกรุณาคือปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์และเป็นทั้งการเจริญภาวนาคือการทำให้จิตแนบเนื่องแน่แน่วในการตั้งใจฟังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งตัวของผู้ฟังเองจะมีจิตที่สงบ ขณะเดียวกันยังเป็นการส่งผ่านอารมณ์ความรู้สึกในฝ่ายที่เป็นกุศลให้กับผู้ที่รับฟังอีกด้วย เพราะเป็นการหยิบยื่นความดีงามความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจให้แก่กันและกัน จะนำไปสู่การประนีประนอมหรือฉันทามตินั่นเอง

#อนึ่งคำว่าฉันทามตินั้นมิได้หมายความว่าคนทุกคนจะได้สิ่งใดๆตามที่ตนต้องการทั้งหมด แต่ในทางจิตวิทยาหมายความว่าทุกๆคนจะยืนหยัดอยู่ในพื้นที่แห่งการยอมรับความเห็นของคนส่วนใหญ่ได้ ถึงแม้ว่าในบางประการจะไม่สอดคล้องกับความเห็นของตนก็ตาม แต่ก็ยังสามารถปรับตัวปรับใจอยู่ในสภาวะแวดล้อมและบรรทัดฐานที่เปลี่ยนไปของระบบสังคมส่วนใหญ่ได้ด้วยความสงบสุขนั่นเอง

#หากทุกครอบครัวเลี้ยงลูกมาแบบประชาธิปไตย ด้วยการยอมรับฟังความคิดเห็นของลูกหลานอย่างมีเหตุมีผล และเปิดโอกาสให้ลูกหลานได้แสดงความเห็นอย่างมีเสรีภาพทางความคิด โดยมีผู้ใหญ่ช่วยดูความมั่นคงปลอดภัยให้อย่างเหมาะสม จะเป็นการให้เกียรติและปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยให้แก่เด็กๆ จะส่งผลให้เขาเติบโตมาเป็นคนที่รู้จักรับฟังผู้อื่นและมีเหตุมีผลนั่นเอง กล่าวคือหากทุกครอบครัวเลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตยสังคมก็จะเป็นประชาธิปไตยตามนั้นเอง

#หากครอบครัวใดเลี้ยงลูกแบบบงการและไร้ความเป็นประชาธิปไตย เมื่อเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่และมีโอกาสมีอำนาจใดๆเขาเหล่านั้นก็จะติดและเคยชินต่อวิถีแห่งการสั่งการคนอื่น หรือทนขมขื่นอยู่ภายใต้การสั่งการนั้นได้ ด้วยเลียนแบบและเป็นผลพวงมาจากพ่อแม่ผู้ปกครองที่กระทำกับตนมาในครอบครัวแต่วัยเด็กนั่นเอง เมื่อเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ก็จะอิ่มเอมกับอำนาจและการสั่งการและชอโดยไร้รากฐานแห่งการยอมรับฟังผู้อื่นซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความไร้ประชาธิปไตยนั่นเอง

#ดังนั้นหากปรารถนาประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและยั่งยืน ต้องแก้ไขวิถีปฏิบัติแห่งความเป็นประชาธิปไตยตั้งแต่ในระดับครอบครัว โดยการรู้จักรับฟังและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่างๆอย่างมีเหตุผลร่วมกัน และประนีประนอมต่อกันด้วยฉันทามติ กล่าวคือ มีความชอบและพึงพอใจร่วมกันกับความเห็นส่วนใหญ่ มิใช่ความเห็นของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว กระทั่งฝึกยอมรับกติการ่วมของคนส่วนใหญ่ที่ได้จากการตัดสินใจร่วมกันมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการดำเนินชีวิตร่วมกัน นั่นเอง

หากเริ่มฝึกวิถีแห่งความเป็นประชาธิปไตยดังที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ระดับการเลี้ยงดูในครอบครัว สถานศึกษา สถาบันทางสังคมและภาพรวมของประเทศแล้ว ด้วยการฝึกรับฟังอย่างมีประสิทธิภาพเชื่อว่าอีกประมาณสามทศวรรษ ประเทศไทยคงจะเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและยั่งยืนได้ในที่สุด

อ.ดร.วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์

นักส่งเสริมสุขภาพจิต, นักวิชาการอิสระ,ประธานสถาบันพัฒนาคุณภาพมนุษย์ Wuttipong Academy และสถาบันจิตเกษมเพื่อการจัดการเชิงคุณภาพและส่งเสริมคุณภาพจิต และกรรมการบริหารมูลนิธิสุขภาพจิตโรงพยาบาลสวนปรุง

Recommended Posts