ห ลายท่านอาจสงสัยว่า ความคิดที่บิดเบือนไปจากความคิดบวกนั้นเป็นอย่างไร และอาจเคยอ่านและเคยฟังเรื่องการคิดบวกมามากมายแล้ว แม้ผู้เขียนเองก็เคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องคิดบวกไปจนถึงความรู้สึกบวกไว้ในหนังสืออยู่หลายเล่ม กระทั่งเคยนิยามและสร้างเกณฑ์ของการคิดบวกไว้ห้าประการด้วยกัน นั่นคือต้องเป็นความคิดที่ “#มีสติมีสมาธิสร้างสรรค์สร้างมิตรและสมเหตุผล” แต่สำหรับการเขียนบทความในครั้งนี้จะนำเสนอหลักการปรับความคิดที่บิดเบือนให้เป็นการคิดบวกเพื่อส่งเสริมพลังใจแก่ทั้งตนเองละผู้อื่น
เรื่องเล็กๆนิดเดียวแค่นี้แก้ไขได้เสมอ
เราช่วยกันหาทางปรับปรุงแก้ไขได้
เราช่วยกันหาทางปรับปรุงแก้ไขได้
ความคิดที่บิดเบือนในที่นี้มาจากเอรอนเบค (Aaron T.Beck) ซึ่งถือว่าเป็น เจ้าพ่อแห่งทฤษฏีการปรับความคิดและพฤติกรรมบำบัด (cognitive behavioral therapy :CBT) ชื่อดังแห่งวงการสุขภาพจิตท่านหนึ่ง ซึ่งได้เขียนเกี่ยวกับความคิดที่บิดเบือนที่ส่งผลทำให้เกิดโรคซึมเศร้าไว้ 12 ประการ กล่าวคือ #เป็นการคิดที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริงและความสงบสุขในใจตนนั่นเอง แต่ในบทความนี้ผู้เขียนจะนำเสนอแค่เพียง5ประการเท่านั้น นั่นคือ
ค วามคิดที่บิดเบือนทั้งห้าประการดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเราไร้พลังใจจนเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการบิดความคิดจากความคิดที่บิดเบือนดังกล่าวให้มาเป็นความคิดบวกเพื่อเพิ่มพลังใจ ดังที่ผู้เขียนได้อธิบายผ่านมา และหากถามว่าถ้าจะต้องเลือกใช้วิธีคิดและวิธีการสั้นๆบางอย่างแล้วส่งผลให้คลี่คลายความคิดที่บิดเบือนทั้งห้าประการให้กลายเป็นความคิดบวกได้นั้นจะทำอย่างไร คำตอบคือ #ควรค้นหาคุณค่าและความดีงามของทั้งตนเองและผู้อื่นแล้วนำมาชื่นชมซึ่งกันและกันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยคลี่คลายความคิดบิดเบือนเหล่านั้นให้เป็นการคิดบวกได้เป็นอย่างดี
และหากต้องการปรับความคิดด้วยวิธีการที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น โดยปฏิบัติตามแนวทางแห่งพุทธจิตวิทยาก็คือการคิดแบบไม่คิดหรือไม่คิดปรุงแต่งความคิดใดใดทั้งสิ้น ไม่ว่าคิดบวกหรือคิดลบจนนำมาสู่ความมีจิตสงบและพบธรรมในที่สุดนั้นคือการเจริญสติปัฏฐานสี่นั่นเอง