In บทความ, วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์
ฆ่าตัวตายป้องกันได้ ด้วยการเข้าใจใส่ใจฉับไวและจริงจัง

“ห้ามคิดว่าเขาเรียกร้องความสนใจ และห้ามคิดว่าเขาจะไม่ทำจริง”

มื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา ข่าวพ่อวัยหนุ่มไลฟ์สดแขวนคอลูกสาว จากนั้นจึงแขวนคอตัวเองตายตามนั้น เป็นข่าวที่โด่งดังทั้งสื่อสารมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ เชื่อว่าคนไม่น้อยที่รับรู้ข่าวนี้ ความจริงข่าวทำนองนี้ก็เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ทั้งที่เป็นข่าวดังบ้างไม่ดังบ้าง ซึ่งกรมสุขภาพจิตรายงานสถิติผู้ที่ฆ่าตัวตายได้สำเร็จในเมืองไทยเมื่อปี 2548 พบว่าเฉลี่ยเดือนละ 350 ราย ประมาณชั่วโมงละ 2 คน

ทั้งๆที่ปัญหาเหล่านี้มีวิธีป้องกันได้แต่ก็ไม่เคยหมดไปจากสังคมเลย วันนี้ผู้เขียนจึงขอนำเสนอวิธีการป้องกันการฆ่าตัวตายในแบบโปแอคทีฟ(proactive :มีความหมายยิ่งกว่าคำว่ากระตือรือล้น)ที่ได้ผลดียิ่ง ซึ่งผู้เขียนเคยรณรงค์ให้ความรู้เช่นนี้กับบางพื้นที่อย่างจริงจังมาแล้ว โดยมีหลักคิด2ข้อดังต่อไปนี้

ฆ่าตัวตายป้องกันได้ ด้วยการเข้าใจใส่ใจฉับไวและจริงจัง

เข้าใจและใส่ใจ

กล่าวคือทุกคนควรใส่ใจคนใกล้ชิดรอบข้างเราดูว่า มีใครบ้างที่กำลังประสบปัญหาชีวิตที่รุณแรงและปรับตัวลำบาก เครียดมาก ซึมเศร้า หวาดระแวง เมื่อพบแล้วพึงให้เข้าใจว่า เขาเหล่านั้นมีปัญหาด้านสุขภาพจิตเช่นเดียวกับการมีปัญหาด้านสุขภาพกายเช่น ปวดท้องปวดหัวเลือดตกยางออกทำนองเดียวกันนั่นเอง

เมื่อตระหนักว่าเขาเหล่านั้นประสบปัญหาสุขภาพจิตขั้นรุณแรงหรือมีแนวโน้มสูงที่อาจถึงขั้นป่วย ก็พึงใส่ใจดูแลและรีบพาไปหาหมอด้านสุขภาพจิต (เช่นเดียวกันกับรับรู้ว่าปวดท้องด้านขวาอย่างมากอาจใส้ติ่งอักเสพและรีบพากันไปหาหมอเพราะกลัวใส่ติ่งจะแตกและเสียชีวิตนั่นแหละครับ) และในทางสุขภาพจิตก็ต้องรีบพากันไปหาหมอเช่นกันเพราะกลัวจิตจะแตกถึงที่สุดก็คือฆ่าตัวตาย หากตระหนักประเด็นนี้ได้ เราจะไร้อคติเพราะมองว่านี้คือการป่วยจึงต้องรีบพากันมาหาหมอจิตเวชโดยเร็วพลัน

ฉับไวและจริงจัง

เมื่อพบว่าคนที่อยู่ใกล้ชิดเรามีอาการตามข้อ1นั้น มักจะพบสัญญาณการสื่อสารที่ #สั่งเสียฝากฝังและสั่งลา ตามมาด้วยเสมอ แม้อาจมีรูปแบบการสื่อสารที่ต่างกัน ซึ่งบางคนอาจพูดบางคนอาจเขียนหรือสื่อสารทั้งสองรูปแบบก็ได้เช่น “ฉันไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไปแล้วไม่มีเธอฉันอยู่ไม่ได้จริงๆขอตายดีกว่า,หากผมเป็นอะไรไปขอฝากดูลูกและแม่ด้วยนะครับ,ฉันได้ทำพินัยกรรมไว้แล้วขอให้ทุกคนปฏิบัติตามนั้นฉันคงจะไม่อยู่อีกต่อไปแล้ว เป็นต้น

ทันทีที่สังเกตพบว่าเขามีอาการดังกล่าวและมีความคิดจะฆ่าตัวตายจนพบการสื่อสารที่สั่งเสียฝากฝังและสั่งลา สิ่งที่ผู้ใกล้ชิดต้องตระหนักคือ #ห้ามคิดว่าเขาเรียกร้องความสนใจและห้ามคิดว่าเขาจะไม่ทำจริง ต้องใส่ความหมายทันทีว่า เขาป่วยและร้องขอความช่วยเหลือ เฉกเช่นเดียวกับมีใครสักคนร้องขอความช่วยเหลือจากเราว่า “ช่วยด้วยฉันถูกงูเห่ากัด”นั่นเอง ดังนั้นจึงต้องรีบช่วยเหลืออย่างฉับไวจริงใจและไม่รีรอใดๆทั้งสิ้น ในระบบความคิดต้องมีแต่คำว่า ต้องช่วยกันนำส่งให้ถึงมือหมอแบบฉับไวนั่นเอง

ณะเดียวกันตัวเราทุกๆคนก็ควรพึงสังเกตตนเองอย่างสม่ำเสมอเช่นกันว่า เมื่อไหร่ที่ตนเองรู้สึกโศกเศร้า น้อยใจ วิตกกังวลหรือหวาดระแวงมากจนปรับตัวลำบากและเป็นทุกข์ ก็ควรตระหนักว่าสุขภาพใจเริ่มป่วยแล้ว อย่ามีอคติและอย่าอายที่จะปรึกษาใครๆ ที่เราไว้ใจได้ และรีบมาพบหมอทางใจโดยฉับไว ก็จะช่วยป้องกันตนเองจากปัญหาสุขภาพจิตและฆ่าตัวตายได้เช่นกัน

แทบทั้งหมดของผู้ที่ฆ่าตัวตายได้สำเร็จ ทั้งเจ้าตัวและคนใกล้ชิดมักจะขาดความรู้และขาดความตระหนักทั้งข้อ1และข้อ2แบบโปรแอคทีฟนั่นเอง. ดังนั้นเมื่อไหร่ที่พบว่าผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเรามีปัญหาสุขภาพจิต พึงต้องมีวิธีคิดและวิถีปฏิบัติแบบโปรแอคทีฟด้วยการ”#เข้าใจใส่ใจฉับไวและจริงจัง” ดังที่ได้อธิบายผ่านมาแล้วนั้นก็จะช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายได้ดียิ่งขึ้น

พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าสิ่งที่เกิดได้ยากยิ่งมีอย่างน้อย4ประการ หนึ่งในนั้นคือ #การเกิดเป็นมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเกิดมายากดีมีจนพิกลพิการใดๆก็ตาม ถือว่าโชคดียิ่งทั้งสิ้นที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพื่อเรียนรู้ชีวิตและพัฒนาจิตตนเองให้ดีงามและสูงส่งยิ่งขึ้น มิใช่เกิดมาเพื่อชดใช้กรรมดั่งที่คนจำนวนหนึ่งมักจะพูดกันดังนั้นหากต่างคนต่างดูแลทั้งตัวเองและดูแลกันและกัน การช่วยเหลืออย่างฉับพลันก็จะป้องกันการฆ่าตัวตายได้แน่นอน

วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์

นักส่งเสริมสุขภาพจิตและนักพัฒนาคุณภาพมนุษย์แบบสหศาสตร์ประธานสถาบันพัฒนาคุณภาพมนุษย์ Wuttipong Academy Bangkok และกรรมการบริหารมูลนิธิสงเคราะห์ผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาลสวนปรุง

Recommended Posts